เมนู

เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ชวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความ
ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วย
ฝ่ามือ. เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะ
ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

วาทะและทิฐิของสมณพราหมณ์บางพวก


[186] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่าง
นี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า
เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยถั่วเขียว ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยงา
ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสาร ดังนี้. พวกเขาเคี้ยวกิน
ข้าวสารบ้าง ข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำข้าวสารบ้าง ย่อมบริโภคข้าวสารที่จัดทำ
ให้แปลกมีประการมิใช่น้อยบ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่า กินข้าวสาร
เมล็ดเดียวเท่านั้น. ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า ข้าวสารในสมัย
นั้น ชะรอยจะเมล็ดใหญ่เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาล
นั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้. ดูก่อน
สารีบุตร เมื่อเรากินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยี่งนัก.
อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความ
ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความ
ที่เรามีอาหารน้อยนั่งเอง. กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถา
สะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้น
เหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความ
ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตาเหมือนเงาดวงดาว
ปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนัง

ศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้ว ก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้ว
แต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของที่เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เพราะ
ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลำผิว
หนังท้องก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำ
ถูกผิวหนังท้องทีเดียว. ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง
เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็
ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยัง
ร่างกายให้คล่องแคล่วก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลาย
มีรากอันเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.
ดูก่อนสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้
นั้น ด้วยความเพียรที่กระทำได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่งของ
มนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ ปัญญานี้แล
ที่ซึ่งเราได้บรรลุแล้วเป็นของประเสริฐ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้น
ทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้กระทำอยู่ตามนั้น.
[187] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ. ดูก่อนสารีบุตร ก็สังสาร-
วัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไปโดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่เทวโลกชั้นสุทธาวาส
เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้น
สุทธาวาส เราก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.
[188] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มี
ทิฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยอุปบัติ. ดูก่อนสารีบุตร ความอุปบัติ
ที่เราไม่เคยเข้าถึงแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส

เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงอุบัติในเทวโลกชั้นสุทธาวาส
เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.
[189] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาวาส ดูก่อนสารีบุตร ก็อาวาสที่
เราไม่เคยอยู่อาศัยแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส
เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงอยู่อาศัยในเทวโลกชั้น
สุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.
[190] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยการบูชายัญ. ดูก่อนสารีบุตร ก็ยัญ
ที่เราไม่เคยบูชาแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ยัญ
นั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหา-
ศาลจึงบูชา.
[191] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยการบำเรอไฟ. ดูก่อนสารีบุตร ก็
ไฟที่เราไม่เคยบำเรอแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก
แต่ไฟนั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์
ผู้มหาศาลจึงบำเรอ.
[192] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุรุษรุ่นหนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิทประกอบด้วยวัยหนุ่มอัน
เจริญ ประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่งสมกับวัยต้น ต่อมา บุรุษผู้เจริญ
นี้เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ คือมี
อายุถึง 80 ปีบ้าง 90 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง โดยชาติ ย่อมเสื่อมจากปัญญา
ความเฉลียวฉลาดนั้น ในภายหลัง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็น

อย่างนั้น. ก็บัดนี้เราเป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย
โดยลำดับ อายุของเราแปดสิบปีเข้านี่แล้ว. สาวกบริษัททั้ง 4 ของเรา
ในธรรมวินัยนี้มีอายุถึงร้อยปี เป็นอยู่ได้ตั้งร้อยปี ประกอบด้วยสติ คติ ฐิติ
อันยอดเยี่ยม และปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือน
นักธนูมั่นคง ได้รับการฝึกหัดแล้ว ช่ำชอง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว
พึงยิงงวงตาลโดยขวางให้ตกลงด้วยลูกศรขนาดเบาโดยง่ายดาย แม้ฉันใด สาวก
บริษัท 4 ของเราเป็นผู้มีสติอันยิ่ง มีคติอันยิ่ง มีปัญญาทรงจำอันยิ่ง ประกอบ
ด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ฉันนั้น พวกเธอพึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน 4
กะเรา เราถูกถามปัญหาแล้ว ๆ พึงพยากรณ์แก่พวกเธอ พวกเธอพึงทรงจำคำ
ที่เราพยากรณ์แล้ว โดยเป็นคำพยากรณ์ มิได้สอบถามเราให้ยิ่งกว่า 2 ครั้ง
เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
เว้นจากการหลับและบรรเทาความเหนื่อยล้า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมเทศนาของ
ตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น บทและพยัญชนะแห่งธรรมของตถาคตนั้นไม่รู้จัก
จบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น. เมื่อเป็นดังนั้น
สาวกบริษัท 4 ของเราเหล่านั้น จึงมีอายุตั้ง 100 ปี เป็นอยู่ตั้ง 100 ปี พึง
กระทำกาละโดยล่วงไปแห่ง 100 ปี. ดูก่อนสารีบุตร ถ้าแม้พวกเธอจะพึงหาม
เราไปด้วยเตียงน้อย ความเป็นอย่างอื่นแห่งปัญญาเฉลียวฉลาดของตถาคตย่อม
ไม่มีเลย. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคำใดว่า สัตว์
ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ
พึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้นว่า สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้น
ในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ดังนี้.

คำนิคม


[193] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนาคสมาละ ถวายงานพัดอยู่ ณ
เบื้องปฤษฎางค์ ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยมี อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ามี
โลมาอันพองเพราะฟังธรรมปริยายนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้
ชื่ออะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนาคสมาละ เพราะเหตุนี้แหละ
เธอจงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้ว่า ชื่อว่า โลมหังสนปริยาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระนาคสมาละ
มีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบมหาสีหนาทสูตรที่ 2